ประวัติความเป็นมา
วิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดตั้งขึ้นตามมติสภามหาวิทยาลัยนเรศวร ในคราวการประชุมครั้งที่ 158 (1/2554) เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2554 ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นคณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2563 โดยมุ่งเน้นการสร้างนักวิจัย นักวิชาการ และนักบริหารด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานผ่าการเรียนรู้ ควบคู่กับการปฏิบัติ และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านโลจิสติกส์และโซอุปทานที่สามารถสร้างความเป็นผู้นำทางความคิดในระดับองค์การ ประเทศชาติ และก้าวสู่ความเป็นเลิศในระดับภูมิภาคโดยมีความรู้คู่คุณธรรมและจริยธรรม
ปรัชญา
เราจะพัฒนาวิทยาการทางด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยให้ความสำคัญกับคน กระบวนการ และเทคโนโลยี
ตราสัญลักษณ์

วิสัยทัศน์
คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มุ่งสู่การเป็นสถาบันโลจิสติกส์และโซ่อุปทานชั้นนำในกลุ่มประเทศ อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ภายในปี 2564
วัตถุประสงค์
- เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยมุ่งเน้นให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการความเป็น สากล ตอบสนองความต้องการของตลาด และมีความเป็นผู้นำ จรรยาบรรณวิชาชีพ จริยธรรม คุณธรรม ความรู้ทางวิชาการ และความรับผิดชอบต่อสังคม
- เพื่อพัฒนางานวิจัยเชิงวิชาการและงานวิจัยประยุกต์ในศาสตร์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ สอดคล้อง กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- เพื่อให้บริการวิชาการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน แก่กลุ่มเป้าหมายทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจและ อุตสาหกรรมและภาคประชาชน โดยการสร้างเสริมศักยภาพ ให้แก่บุคลากรและองค์กร
- เพื่อสร้างความร่วมมือความเป็นหุ้นส่วนและเครือข่ายทางวิชาการ การวิจัย และการบริการ วิชาชีพกับสถาบันการศึกษา รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ในการผลิตและพัฒนาศักยภาพด้านโลจิสติกส์และโซ่ อุปทานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
พันธกิจ
คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน ได้กำหนดพันธกิจเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินตามนโยบาย มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยดำเนินการตามภารกิจ 4 ด้าน ได้แก่
-
- ด้านการผลิตบัณฑิต คณะฯ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาโลจิสติกส์ และโซ่อุปทาน โดยจัดการเรียนการสอน หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Science Program in Logistics and Digital Supply Chain) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Science-MSc.) และ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy-PhD.)
- ด้านการวิจัย คณะฯ มีจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานวิจัยด้านโลจิสติกส์ และโซ่อุปทาน เพื่อการ พัฒนาระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ที่ตอบสนองความต้องการของประเทศ ช่วยพัฒนาประเทศในด้านโลจิสติกส์ และโซ่อุปทานได้อย่างยั่งยืน และเพื่อการพัฒนานักวิจัยด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
- ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม คณะฯ มุ่งเน้นให้บริการวิชาการแก่สังคมในลักษณะการฝึกอบรม และการให้คำปรึกษาด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ ตลอดจนการฝึกอบรมแก่ สถาบันการศึกษา และสถานประกอบการ ซึ่งเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องที่นำไปสู่แนว ปฏิบัติด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานได้ในอนาคต
- ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สร้างเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ นิสิต บุคลากร ได้ตระหนักและ มีจิตสำนึกถึงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม