ความเป็นมา
คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร (NU-Logistics) เป็นหน่วยงานประเภทเชิงสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary) เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยคณาจารย์ที่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจ ด้านวิชาการ และด้านวิจัย
- จำนวนหน่วยกิต 36 หน่วยกิต
- โครงสร้างของหลักสูตร
ลำดับที่ | หมวดวิชา | เกณฑ์ ศธ.
พ.ศ. 2558 |
มคอ.1
สาขาโลจิสติกส์ |
หลักสูตรใหม่
พ.ศ. 2563 |
1 | หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า
1.1 กลุ่มวิชาภาษา วิชาบังคับ – กลุ่มภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่า – กลุ่มภาษาไทย ไม่น้อยกว่า วิชาเลือก โดยเลือกจากกลุ่มภาษาอังกฤษ กลุ่มภาษาไทย หรือกลุ่มภาษาต่างประเทศอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 1.2 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 1.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 1.4 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 1.5 กลุ่มวิชาพลานามัย (บังคับไม่นับหน่วยกิต) |
30
–
– –
– – – – – |
30
–
– –
– – – – – |
30
12
3 3
6 6 6 6 1 |
2 | หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า
2.1 วิชาเฉพาะด้าน 2.2 วิชาเอกบังคับ 2.3 วิชาเอกเลือก 2.4 โครงงานทางโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน 2.5 ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ/สหกิจศึกษา |
72
– – – – – |
84
– – – – – |
88
24 39 12 6 7 |
3 | หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า | 6 | 6 | 6 |
หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า | 120 | 120 | 124 |
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- มีความรู้ด้านโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชนที่ทันสมัย เพื่อประยุกต์ใช้ในการจัดการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลเทคโนโลยีดิจิทัล
- มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ โดยสามารถนำหลักการที่เรียนมาไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จริงได้ทุกสถานการณ์
- มีความเป็นผู้นำ และมีโลกทัศน์ที่กว้างไกล สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี และมีความรับผิดชอบสูง
- มีความสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้มากกว่าหนึ่งภาษา และมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
- มีคุณธรรมและจริยธรรมในตน ในวิชาชีพ และผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
โอกาสทางอาชีพ
- นักวิชาการด้านโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน
- นักวิชาการด้านการจัดการการปฏิบัติการ
- นักวิชาการด้านบริหารธุรกิจของหน่วยงานต่างๆ
- นักวิเคราะห์และวางแผนด้านโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน
- นักจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศระบบโลจิสติกส์
- เจ้าหน้าที่วางแผนการผลิตและกระจายสินค้า
- เจ้าของธุรกิจหรือผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์
- พนักงานองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ในหน่วยงานด้านโลจิสติกส์และที่เกี่ยวข้อง
- อาชีพอื่นที่ใช้องค์ความรู้ทางด้านโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน
คุณสมบัติผู้สมัคร
เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวรว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์/บริหารธุรกิจ/อุตสาหกรรม/ท่องเที่ยว/เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาวิชาที่ใกล้เคียงกับสาขาวิชานี้ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรอง
- เป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
- ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความที่กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
- ไม่เคยถูกคัดชื่อออก หรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใดๆ เพราะความผิดทางความประพฤติ
- การคัดเลือกผู้เข้าศึกษาเป็นไปตามระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
เอกสารประกอบการสมัคร
- รูปถ่ายแนบใบสมัคร
- หลักฐานการเปลี่ยน ชื่อสกุล, หลักฐานการสมรส (ถ้ามี)
- ใบเกียรติบัตรสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ หนังสือรับรอง(กรณีที่ยังไม่ได้รับใบเกียรติบัตร) จำนวน 1 ฉบับ(ถ่ายสำเนา)
- ใบผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1 ฉบับ (ถ่ายสำเนา)
- บัตรประชาชน (ถ่ายสำเนา)
- CV
ลำดับที่ |
รายการ |
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (บาท) | เรียกเก็บต่อภาคการศึกษา (บาท) | เรียกเก็บเป็นรายครั้ง (บาท) | รวมสุทธิ (บาท) |
1 | ค่าสมัครสอบคัดเลือก | 300 | 300 | ||
2 | ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่ายตลอดหลักสูตร | 144,000 | 18,000 เทอม 1
18,000 เทอม 2 18,000 เทอม 3 18,000 เทอม 4 18,000 เทอม 5 18,000 เทอม 6 18,000 เทอม 7 18,000 เทอม 8 |
– | 144,000 |
3 | ค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการใช้บริการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ | 3,200 | 400 | – | 3,200 |
4 | ค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการพัฒนาภาษาอังกฤษ | 4,000 | 500 | – | 4,000 |
5 | ค่าธรรมเนียมขนส่งมวลชน | 1,600 | 200 | – | 1,600 |
6 | ค่าลงทะเบียนรักษาสภาพนิสิต ภาคเรียนละ 1,235 บาท | 1,235 | 1,235 | ||
7 | ค่าขึ้นทะเบียนมหาบัณฑิต | 2,000 | 2,000 | ||
8 | ค่าบัตรประจำตัวนิสิต | 200 | 200 | ||
รวม | 156,535 |
***หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายข้างต้นไม่รวม ค่าใช้จ่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายส่วนตัวรายเดือน ค่าหอพัก ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการวิจัย ค่าจัดทำเอกสารรูปเล่ม ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้าร่วมประชุมเสนอผลงานวิชาการ/ค่าใช้จ่ายการตีพิมพ์ลงในวารสารทางวิชาการ
เงื่อนไขการสำเร็จการศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวรว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559
ข้อ 19 การเสนอให้ได้รับปริญญาตรี
19.1 ในภาคการศึกษาสุดท้ายที่นิสิตจะสำเร็จการศึกษา นิสิตจะต้องยื่นใบรายงาน คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา โดยผ่านอาจารย์ที่ปรึกษาต่อมหาวิทยาลัยภายในระยะเวลา 1 เดือน นับจากวันเปิดภาคเรียน ทั้งนี้นิสิตต้องมีสถานภาพการเป็นนิสิตในภาคการศึกษาที่ยื่นใบรายงาน
19.2 นิสิตที่ได้รับการเสนอให้ได้รับปริญญาตรี ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
19.2.1 เรียนรายวิชาต่างๆ ครบตามหลักสูตรและเงื่อนไขของสาขาวิชานั้น และ ไม่มีรายวิชาใดได้รับอักษร I หรืออักษร P โดยใช้เวลาเรียน ดังนี้
19.2.1.1 การศึกษาเพื่อปริญญาตรี 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้ ไม่ก่อน 6 ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่ก่อน 14 ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
19.2.2 นิสิตที่ขอเทียบโอนรายวิชาต้องใช้เวลาศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยนเรศวรอย่างน้อย 1 ปีการการศึกษา
19.2.3 มีค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2.00
19.2.4 ได้รับการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
19.3 นิสิตที่จะได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับปริญญาเกียรตินิยม นอกจากเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ 19.2 แล้ว ต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
19.3.1 มีค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตรตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป จะได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง แต่ถ้ามีค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตรตั้งแต่ 3.25 ถึง 3.49 จะได้รับเกียรตินิยมอันดับสอง
19.3.2 ไม่เคยได้รับระดับขั้น F หรืออักษร U และต้องไม่ลงทะเบียนเรียนซ้ำในรายวิชาใด
19.3.3 กรณีเป็นนิสิตที่มีการขอเทียบโอนผลการเรียน จำนวนหน่วยกิต ต้องไม่เกิน 1 ใน 6 ของจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
นิสิตที่มีสิทธิได้รับปริญญา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังนี้
- เรียนรายวิชาต่างๆ ครบตามหลักสูตรและเงื่อนไขของสาขาวิชา และ ไม่มีรายวิชาใดได้รับอักษร I หรืออักษร P
- สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 6 ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่ก่อน 14 ภาคการศึกษาปกติสำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
- นิสิตที่ขอเทียบโอนรายวิชาต้องใช้เวลาศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยนเรศวรอย่างน้อย 1 ปีการการศึกษา
- มีค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2.00
- ได้รับการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
- นิสิตที่จะได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับปริญญาเกียรตินิยม นอกจากเป็นผู้มี คุณสมบัติตามที่กําหนดไว้ในข้อ (1)-(5) แล้ว ต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(6.1) มีค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตรตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป จะได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง แต่ถ้ามีค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตรตั้งแต่ 3.25 ถึง 3.49 จะได้รับเกียรตินิยมอันดับสอง
(6.2) ไม่เคยได้รับระดับขั้น F หรืออักษร U และต้องไม่ลงทะเบียนเรียน ซ้ำในรายวิชาใด
(6.3) กรณีเป็นนิสิตที่มีการขอเทียบโอนผลการเรียน จำนวนหน่วยกิต ต้องไม่เกิน 1 ใน 6 ของจํานวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร