ความเป็นมา
คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร (NU-Logistics) เป็นหน่วยงานประเภทเชิงสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary) เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยคณาจารย์ที่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจ ด้านวิชาการ และด้านวิจัย
- จำนวนหน่วยกิต 48 หน่วยกิต
- โครงสร้างของหลักสูตร
รายการ | แบบ 1.1 |
รายวิชา ไม่น้อยกว่า
1.1 วิชาบังคับ ไม่น้อยกว่า 1.2 วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต |
–
– – 48 6 |
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร | 48 |
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- มีความรู้ความสามารถในการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ในด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่มีความเป็นสากล และสามารถประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของสังคมไทย
- มีความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และสามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางวิชาการ ทางธุรกิจ และทางสังคมได้
- มีความรู้ความสามารถด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในแง่มุมต่าง ๆ อย่างลุ่มลึก ตลอดจนสามารถที่จะเป็นผู้นำความคิด ผู้นำการเปลี่ยนแปลงและชี้นำสังคมในประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติ
- มีความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อนำไปปรับใช้ได้กับงานด้านวิชาการและในทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนดำรงตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม
โอกาสทางอาชีพ
- นักวิจัย/นักวิชาการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
- นักวิจัย/นักวิชาการด้านการจัดการการปฏิบัติการ
- นักวิจัยทางด้านบริหารธุรกิจของหน่วยงานต่าง ๆ หรือ นักวิจัยอิสระ
- อาจารย์หรือนักวิชาการประจำสถาบันต่าง ๆ
- เจ้าของกิจการและผู้ประกอบอาชีพอิสระทางธุรกิจ
- ผู้บริหารองค์กรภาครัฐและเอกชนในระดับสูง
คุณสมบัติผู้สมัคร
- ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษารับรอง และมีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร
- มีประสบการณ์ในการทำงานหรือการสอนที่เกี่ยวข้องกับการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
- ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในกรณีความผิดอันได้กระทำโดยความประมาท หรือความผิดลหุโทษ
- ไม่เคยถูกคัดชื่อออกจากสถาบันการศึกษาใดอันเนื่องมาจากความประพฤติ
- คุณสมบัติต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 ข้อ 5 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาและประกาศของมหาวิทยาลัยนเรศวร
เอกสารประกอบการสมัคร
- รูปถ่ายแนบใบสมัคร
- หลักฐานการเปลี่ยน ชื่อสกุล, หลักฐานการสมรส (ถ้ามี)
- ใบปริญญาบัตรระดับปริญญาโท หรือ หนังสือรับรอง(กรณีที่ยังไม่ได้รับปริญญาบัตร) จำนวน 1 ฉบับ(ถ่ายสำเนา)
- ใบผลการศึกษาระดับปริญญาโท Transcripts จำนวน 1 ฉบับ (ถ่ายสำเนา)
- บัตรประชาชน (ถ่ายสำเนา)
- CV
ลำดับที่ |
รายการ |
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (บาท) | เรียกเก็บต่อภาคการศึกษา (บาท) | เรียกเก็บเป็นรายครั้ง (บาท) | รวมสุทธิ (บาท) |
1 | ค่าสมัครสอบคัดเลือก | 1,000 | 1,000 | ||
2 | ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่ายตลอดหลักสูตร | 590,000 | 100,000 เทอม 1
100,000 เทอม 2 100,000 เทอม 3 100,000 เทอม 4 100,000 เทอม 5 90,000 เทอม 6 |
– | 590,000 |
3 | ค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการใช้บริการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ | 1,600 | 400 | – | 1,600 |
4 | ค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการพัฒนาภาษาอังกฤษ | 2,000 | 500 | – | 2,000 |
5 | ค่าธรรมเนียมขนส่งมวลชน | 1,000 | 200/200/100 | – | 1000 |
6 | ค่าธรรมเนียมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ | 2,000 | 2,000 | ||
7 | ค่าธรรมเนียมการสอบวิทยานิพนธ์ | 5,000 | 5,000 | ||
8 | ค่าลงทะเบียนรักษาสภาพนิสิต ภาคเรียนละ 1,235 บาท | 1,235 | 1,235 | ||
9 | ค่าขึ้นทะเบียนมหาบัณฑิต | 2,500 | 2,500 | ||
10 | ค่าบัตรประจำตัวนิสิต | 200 | 200 | ||
รวม | 606,535 |
***หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายข้างต้นไม่รวม ค่าใช้จ่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายส่วนตัวรายเดือน ค่าหอพัก ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการวิจัย ค่าจัดทำเอกสารรูปเล่ม ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้าร่วมประชุมเสนอผลงานวิชาการ/ค่าใช้จ่ายการตีพิมพ์ลงในวารสารทางวิชาการ
การวัดผลและการสำเร็จการศึกษาเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560) และ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2561) ดังนี้
- การทำวิทยานิพนธ์
การสอบวิทยานิพนธ์และการรายงานผลการสอบ
การสอบวิทยานิพนธ์ปากเปล่าต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าฟังได้ เมื่อนิสิตผ่านการสอบวิทยานิพนธ์โดยการสอบปากเปล่าแล้ว คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์จะต้องรายงานผลการสอบต่อบัณฑิตวิทยาลัยภายใน 2 สัปดาห์ หลังวันสอบวิทยานิพนธ์ - การเสนอชื่อเพื่อขออนุมัติปริญญา
ในภาคการศึกษาสุดท้ายที่นิสิตจะจบหลักสูตรการศึกษา นิสิตต้องยื่นใบรายงานที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาต่อมหาวิทยาลัย โดยความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาภายใน ๔ สัปดาห์
นับจากวันเปิดภาคการศึกษา
นิสิตที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อขออนุมัติให้ได้รับปริญญา จะต้องผ่านเงื่อนไขต่างๆ ดังต่อไปนี้
ปริญญาเอก แบบ 1
(ก) มีระยะเวลาการศึกษาตามกำหนด
(ข) ลงทะเบียนเรียนครบตามที่หลักสูตรกำหนด
(ค) สอบผ่านความรู้ภาษาอังกฤษตามประกาศของมหาวิทยาลัย
(ง) สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (QUALIFYING EXAMINATION)
(จ)เสนอวิทยา นิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่า
(ฉ) ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์โดยเป็นบทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) จำนวน 2 เรื่อง โดย 1 เรื่อง ต้องเป็นวารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล SCOPUS หรือ ISI และอีก 1 เรื่อง เป็นวารสารระดับชาติหรือนานาชาติให้ตีพิมพ์ในฐานที่ สกอ.รับรอง ตั้งแต่ระดับ TCI (กลุ่มที่ 1)
ทั้งนี้ กรณีได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ต้องระบุปีที่ ฉบับที่ตีพิมพ์