Skip to content

 วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ(รองอธิการบดี)และ รศ.ดร.วัชรพล สุขโหตุ(คณบดีคณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพลายเชน) โดยมีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วย นายพยนต์ อัศวพิชยนต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก และผู้บริหารจากมหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะ ในโอกาสที่เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดหอเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หอพระไตรปิฎก และห้องนิทรรศการช่างสิบหมู่ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดแสดงพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รวมทั้งเป็นการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ และอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาช่างสิบหมู่ให้คงอยู่สืบไป ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการและการประชุมนานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 

       หลังจากนั้น เยี่ยมชมหอเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (King Naresuan the Great Hall of Honor) จัดแสดงพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตั้งแต่พระองค์พระราชสมภพ ศึกเมืองคังมี แผ่พระบรมเดชานุภาพ ประกาศอิสรภาพ และสงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชา 

       หอพระไตรปิฎก มหาวิทยาลัยนเรศวร (Tripitaka Hall) จัดแสดงพระไตรปิฎก ที่เป็นหลักคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และรวบรวมบันทึกหลากหลายภาษาของหลายชนชาติ เช่น ภาษาพม่า ภาษาฮินดี ภาษาจีน และอื่น ๆ  ทั้งในรูปแบบหนังสือ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์  

       ห้องนิทรรศการช่างสิบหมู่ (Ten Divisions Of Traditional Thai Crafts) จัดแสดงงานศิลปกรรมต่าง ๆในหัวข้อ “มหาวิทยาลัยนเรศวรกับงานช่างสิบหมู่” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญางานช่างสิบหมู่ที่เกิดจากการวิจัย ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ มาจัดแสดงในรูปแบบของนิทรรศการ เพื่อแสดงความก้าวหน้าทางด้านศักยภาพ และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย และชมสาธิตการดุนโลหะดอกเสลาและ     ดอกรวงผึ้งแบบประยุกต์ การปักไทย โดยศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยนเรศวร  

       หลังจากนั้น เยี่ยมชมผลงานการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยนเรศวรตามนโยบายของกระทรวง ฯ และสอดรับกับการพัฒนาของประเทศโดยในนามคณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชนได้ร่วมส่งผลงาน

การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยนเรศวรตามนโยบายของกระทรวง ฯ และสอดรับกับการพัฒนาของประเทศ โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพกำลังคนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ได้แก่

✔️การศึกษาเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์รองรับโครงการก่อสร้างรถไฟ ลาว-จีน (ช่วงบ่อเต็น-เวียงจันทร์)
✔️การศึกษาระบบโลจิสติกส์รองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่เชื่อมโยงประเทศไทยกับกลุ่มประเทศภาคี ภายใต้ยุทธศาสตร์ “เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่21”
✔️การยกระดับระบบขนส่งและการเดินทางอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวไทย
✔️ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยนเรศวรกับสาธารณรัฐประชาชนจีนและต่างประเทศ

Back To Top