About Us :
คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร มีส่วนร่วมในการดำเนินการก่อตั้งและประสานความร่วมมือบนระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน และเมาะลำไย (Luangprabang-Indochina-Mawlamyine Economic Corridor; LIMEC) ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มจังหวัดในภาคเหนือตอนล่าง 1 ของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และตาก แขวงหลวงพระบาง/แขวงไซยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และรัฐกะเหรี่ยง/รัฐมอญ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งได้มีการจัดประชุมนานาชาติฯ ประจำปี ร่วมกันมาแล้ว 5 ครั้ง ดังนั้น เพื่อถ่ายทอด ยกระดับและขยายผล จากงานประชุมวิชาการที่เคยจัดมาอย่างต่อเนื่องในรอบปีที่ผ่านมา คณะฯ จึงมีความเห็นว่า ควรดำเนินการจัดงานประชุมเชิงวิชาการระดับนานาชาติอีกครั้งและเปลี่ยนชื่องานประชุมเชิงวิชาการนี้จาก LIMAC เป็น International Conference of Logistics and Digital Supply Chain (ICLDSC) เพื่อยกระดับเพิ่มขอบเขตและทำให้สอดคล้องกับวารสารวิชาการซึ่งทางคณะจัดทำขึ้น โดยทางคณะได้เล็งเห็นถึงการกลับมาเปิดประเทศใหม่อีกครั้ง รวมถึงการปรับรูปแบบในการทำธุรกิจและกลับมาดำเนินกิจการใหม่ หลังจากจบการระบาดของโรค COVID-19 ดังนั้นจึงจัดโครงการ The 1st ICLDSC ในหัวข้อ “Building Resilient Supply Chains in a Post-Pandemic Era” เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
Topics :
เวลา | กิจกรรม |
๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. | ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ณ ห้อง ๓๐๑ อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร และออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom |
๐๙.๐๐ – ๐๙.๑๐ น. | กล่าวรายงาน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรพล สุขโหตุ คณบดีคณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร |
๐๙.๑๐ – ๐๙.๒๐ น. | พิธีเปิด โดย ศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรหญิงกรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร |
๐๙.๒๐ – ๑๐.๓๐ น. | ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “เป้าหมายและทิศทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ของประเทศไทย ช่วงปี 2566-2580”
โดย ดร.ธรรมนูญ เฮงษฎีกุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาคุณภาพการศึกษา (หัวหน้าโครงการศึกษาการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติแบบบูรณาการด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ในระดับภูมิภาคและประเทศ) |
๑๐.๓๐ – ๑๐.๔๕ น. | พักรับประทานอาหารว่าง |
๑๐.๔๕ – ๑๑.๔๕ น. | เสวนากลุ่ม หัวข้อ “การสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่นได้ในยุคหลังโรคระบาด (Building Resilient Supply Chains in a Post-Pandemic Era)”
โดย ดร.พันธุ์ทิพา ขวัญทองอินทร์ กรรมการที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดพิษณุโลก คุณวิทวัส อรรคราภรณ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจนบรรเจิด จำกัด ดร. กนก จุฑามณี ที่ปรึกษาทางธุรกิจ บริษัท เค เอ็น เค คอนซัลติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด ดำเนินการเสวนา : รศ.ดร.วัชรพล สุขโหตุ คณบดีคณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน |
๑๑.๔๕ – ๑๒.๐๐ น. | สรุปและพูดคุยในประเดนต่างๆ |
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
๑๓.๐๐ – ๑๓.๓๐ น. | ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “การสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่นได้ในยุคหลังโรคระบาด (Building Resilient Supply Chains in a Post-Pandemic Era) มุมมองจากประเทศเยอรมัน และกลุ่มประเทศยุโรป”
โดย Dr-Ing Jettarat Janmontree – Lecturer at Institute for Logistics and Material Handling Systems, Otto von Guericke University, Magdeburg, Germany |
๑๓.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. | การนำเสนอบทความวิชาการและการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ ในงาน “The 1st International Conference of Logistics and Digital Supply Chain” ภายใต้หัวข้อ “Building Resilient Supply Chains in a Post-Pandemic Era” ในรูปแบบไฮบริด (Hybrid) โดยผสมผสาน 2 ภาคส่วน คือ 1. ภาควิชาการ (Academic Resilient Supply Chains Article) 2. ภาคผู้ประกอบการ (Business Resilient Supply Chains Article) |
No | Time | Title | Authors | |
1 | 13.30 – 13.45 | Lean Readiness Assessment of Humanitarian Organizations-A Step toward Resilient Humanitarian Supply Chain Operations | Muhammad Shafiq, Sonia Nazeer | |
2 | 13.45 – 14.00 | Smart and Healthy Logistics within LIMEC from Thai Legal Perspectives | Nitibhat Homla-Or, Pongkan Kongsee | |
3 | 14.00 – 14.15 | Impact of Punjab Cattle Market Management and Development Company – (PCMMDC) on Social and Economic Development of south Punjab cattle farmers – Moderating Effect of Supply Chain Strategies. | Saleem Abbas | |
4 | 14.15 – 14.30 | Intellectual Capital and Organizational Innovation in Banking Sector of Pakistan: Examine the Moderating Role of Strategic Knowledge Management | Muhammad Masood Hussain | |
5 | 14.30 – 14.45 | A Study on Wellness Tourism Supply Chain Management of Sukhothai Historical Park, Sukhothai Province | Apinya Palawong | |
Break for 15 minutes | ||||
6 | 15.00 – 15.15 | A Framework to Identify Barriers of Alternative Project Delivery Method Implementation:
Case Study of Bhutan’s Public Construction. |
Kelzang Jigme | |
7 | 15.15 – 15.30 | An Application of Geographic Information System (GIS) on Logistics Development System for Flood Relief: A Case Study of Phitsanulok Province | Thunyaporn Thoopthimthean | |
8 | 15.30 – 15.45 | Bullwhip Effect on Humanitarian Logistics Supply Chain Management-A Conceptual Framework | Muhammad Shafique | |
9 | 15.45 – 16.00 | E-Organizations | Leki Jungney | |
10 | 16.00 – 16.15 | Development of a Sustainable Supply Chain Management Framework: a Case of Aviation Industry | Hassan Mujtaba N. Saleem | |
11 | 16.15 – 16.30 | Attainment of Sustainable Supply Chain Performance in Textile Sector: Development of a Conceptual Framework | Ghulam Sarwar |