Skip to content

     คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาและประสานความร่วมมือบนระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง–อินโดจีน–เมาะลำไย (Luangprabang-Indochina-Mawlamyine Economic Corridor: LIMEC)  โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านโลจิสติกส์ การค้า และวิชาการระดับภูมิภาคให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

     ในปี 2568 นี้ คณะฯ ได้จัดประชุมวิชาการนานาชาติ The 3rd International Conference of Logistics and Digital Supply Chain (ICLDSC 2025) ภายใต้แนวคิด “Smart, Sustainable and Resilient: Building the Next-Generation Supply Chain” เพื่อเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านโลจิสติกส์ยุคใหม่ และเตรียมความพร้อมภาคธุรกิจและภาควิชาการต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม กฎหมาย การค้า และการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายระหว่างประเทศ ในวันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน 2568 ณ อาคารขวัญเมือง มหาวิทยาลัยนเรศวรโดยภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่

  • บรรยาย หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ “Smart, Sustainable, and Resilience: Building the Next-Generation Supply Chain”
    โดย Mr. Pragasam Arokiyasamy, Head of Customer Experience THMYSG and Logistics Director SEA, Unilever
  • เสวนากลุ่มหัวข้อ “Greener Supply Chains, or Just Greener Marketing?”  โดยตัวแทนจากทั้งภาครัฐและเอกชน 3 ท่าน
  1. คุณผจงกิจ โสธนะยงกุล Group Demand and Supply Planning Manager บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด
  2. คุณธนกฤต ชุมมณเฑียร Chemical Recovery Production Section Manager บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) ในเครือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
  3. คุณภาณุพงศ์ นาคนคร Senior Analysts – ESG integration บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน)
  4. ดำเนินการเสวนา โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรพล สุขโหตุ อาจารย์ประจำคณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน
  • การบรรยาย “Innovations for Transparent and Resilient Supply Chains: Enhancing Data Quality and Public Communication” โดย Dr. Troy Hottle, Senior Embodied Carbon Specialist, Erg (Eastern Research Group Inc.)
  • การนำเสนอบทความวิชาการ และนำเสนอโปสเตอร์จากนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศ

     การประชุม ICLDSC ไม่เพียงมุ่งเน้นการเผยแพร่ผลงานวิจัยและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เท่านั้น แต่ยังเป็นเวทีสำคัญในการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อสร้างระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนที่ยืดหยุ่น โปร่งใส และความยั่งยืนในอนาคต

Back To Top